วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัด บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

 แบบฝึกหัด บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

 แบบฝึกหัด
 บทที่ 7 (กิจกรรม1)                                                                                             กลุ่มที่เรียน  1
 รายวิชา    การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา  0026008
 ชื่อ –สกุล  นายงยุทธ บุตราช                                                                            รหัส  57012310213


คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คืออะไร ?

ตอบ  (Firewall) ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครื่องข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป และแต่ระบบ ไฟร์วอลล์ มีขีดความสามารถในการไม่อนุญาตการ Log in สำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานในเครือข่าย แต่ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ใช้งานทั้งภายใน และติดต่อภายนอกเครื่อข่ายได้โดยจำกัดข้อมูลจากภายนอกเคือข่ายไม่ให้เข้ามาในเครือข่าย นับเป็นจุดสังเกตการณ์ตรวจจับและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย เปรียบได้ดังยรมที่ทำหน้าที่เผ้าประตูเมือง

2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรเเกรม

ตอบ   1) Worm (หนอนอินเตอร์เน็ต) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับโปรแกรมไวรัส แต่แพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องอื่น ๆ ที่ต่ออยู่บนเครือข่ายด้วยกัน ลักษณะการแพร่กระจายคล้ายตัวหนอนที่เจาะไชไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ แพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตัวเองออกเป็นหลาย ๆ โปรแกรม และส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป และสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ Microsoft Outlook เช่น เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์และแนบโปรแกรมติดมาด้วย ในส่วนของ Attach file ผู้ใช้สามารถคลิ๊กดูได้ทันที การคลิ๊กเท่ากับเป็นการเรียกโปรแกรมที่ส่งมาให้ทำงาน ถ้าสิ่งที่คลิ๊กเป็นเวิร์ม เวิร์มก็จะแอกทีฟ และเริ่มทำงานทันที โดยจะคัดลอกตัวเองและส่งจดหมายเป็นอีเมล์ไปให้ผู้อื่นอีก ลักษณะของเวิร์มจึงไม่ใช่โปรแกรม ที่เขียนเป็น .exe อย่างเดียว เพราะถ้า .exe อย่างเดียว ผู้ใช้จะเฉลียวใจ และเนื่องจากในโปรแกรมประยุกต์ของไมโครซอฟต์เกือบทุกโปรแกรมสามารถเขียนเป็น สคริปต์ไฟล์ หรือเป็นแมโครโฟล์ เพื่อให้รันสคริปต์หรือแมโครไฟล์ได้ เช่นในเวิร์ดก็จะมีการเขียนแมคโคร ในเอ็กซ์เซลก็เขียนได้เช่นกัน บนแพลตฟอร์มของวินโดว์จึงมีโอกาสที่จะเรียกไฟล์ขึ้นมารันได้หลายวิธี ข้อมูลที่ส่งมาถ้ามีแมคโครติดอยู่ ก็สามารถมีเวิร์มติดมาได้
            2) virus computer (ไวรัส คอมพิวเตอร์) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อก่อกวนทำลายระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเป็นโปรแกรมที่สามารถกระจายจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เช่น โดยผ่านทาง แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) หรือระบบเครือข่ายข้อมูล  ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ (แบ่งตามวิธีการติดต่อ)มีดังนี้
           - boot sector viruses จะ copy ตัวมันเองลงบน แผ่น diskette และลงบน boot sector ของ hard disk (boot sector คือตำแหน่งที่เก็บคำสั่งที่จำเป็นต้องใช้เวลาเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์) เมื่อเราเปิด หรือreboot เครื่องคอมพิวเตอร์ boot sector viruses ติดต่อได้เพียงจากแผ่น diskette เท่านั้น แต่จะไม่ติดต่อเวลาใช้ไฟล์หรือโปรแกรมร่วมกัน ทุกวันนี้ boot sector viruses ไม่แพร่หลายเหมือนแต่ก่อน เพราะส่วนมากเดี๋ยวนี้เราจะ boot เครื่อง คอมพิวเตอร์จาก hard disk เป็นส่วนใหญ่

3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ  ไวรัสคอมพิวเตอร์มี 2 ชนิด ได้เเก่
                1. Application viruses จะมีผลหรือมีการเเพร่กระจายไปยังโปรเเกรมประยุกต์ต่าง เช่น โปรเเกรมประมวลผลคำ word processeng หรือโปรเเกรมตารางคำนวณ เป็นต้น
                2. System viruses ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือเเพร่กระจายในโปรเเกรมจำพวกระบบปฏิบัติการ Operating systems หรือโปรเเกรมระบบอื่นๆ โดยไวรัสชนิดนี้มักจะเเพร่เชื้อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพวิเตอร์

4. ให้นิสิตบอกทางป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มี่อย่างน้อย 5 ข้อ

ตอบ  1) มีการเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ อย่างน้อยปีล่ะ 1 ครั้ง        
          2) มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
          3) มีการเข้ารหัสข้อมูลในคอมพิวเตอร์
          4) มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดเเจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
          5) ให้ความรู้อย่าสม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการบุกรุกของเเฮกเกอร์ เเครกเกอร์ รวมถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์เมื่อถูกบุกรุก

5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบันได้เเก่

ตอบ   1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครื่อข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Geteway) พัฒนาซอฟต์เเวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการเพิ่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูลไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
ส่วนเเรก คิดดี้เเค์ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ใน ระดับหนึ่ง
ต่อมาเป็ฯส่วนพิเพิลคลีน ติดไอคอนไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้
ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) เเก้ปัญหาการติดเกมส์ และควบคุมการเล่นเกมส์ของเด็กๆ ผู้ปกครอง จะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมส์และช่วยดูแลเรื่องความรุนเเรงของเกมส์แต่ละส่วนควรต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
               โปรเเกรมนี้จะพอช่วยบรรเทาปัญหาและเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตจากผองภัย เช่น กลุ่มเว็บโป๊ ลามกอนาจาร กลุ่มเว็บกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ กลุามเว็บสอนใช้ความรุนเเรง ทารุน สอนเพศศึกศาเเบบผิดๆ ใช้ภาษาหยาบคาย สอนขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นต้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น