วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัด บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่


แบบฝึกหัด


บทที่ 1 (กิจกรรม1)                                                                                     กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                       รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นายยงยุทธ สกุล บุตราช                                                                       รหัส 57012310213

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
1. ข้อมูลหมายถึง ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพหรือคำพูด ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น และสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน

2. ข้อมูลปฐมภูมิคือ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
ยกตัวอย่างประกอบ เช่น ข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนผู้เข้ามาสัมภาษณ์ของคณะนิติศาสตร์ ในเวลา 8.30-11.30 น.

3. ข้อมูลทุติยภูมิคือ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลในอดีต และมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้ว ผู้ใช้นำมาใช้ได้เลย จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิจะไม่ตรงกับความต้องการหรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้ใช้จะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่นำมาใช้ สรุปผลการวิจัยผิดพลาดไปด้วย
ยกตัวอย่างประกอบ สถิติการเกิดของเด็กทารกใน ร.พ.มหาสารคามในปี 2540 - 2541 เป็นข้อมูลที่บางครั้งอาจถูกแปรรูปไปแล้ว แต่เนื่องจากบางครั้งเราไม่สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิได้เราจึงต้องศึกษาจากข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้ว

4. สารสนเทศหมายถึง เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย

5. จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ  1. จำแนกตามแหล่งสารสนเทศ คือการจัดแบ่งตามการรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศ ออกเป็นแหล่งดังนี้
1.1     แหล่งปฐมภูมิ หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโยตรง เป็นสารสนเทศเชิงวิชาการ มีการเผยแพร่ผลการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติม มีข้อมูลเหตุผลที่เชื่อถือได้
        1.2     แหล่งทุติยภูมิ หมายถึง สารสนเทศที่ได้รวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากสารสนเทศปฐมภูมิ อาจทำในรูปของการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนี สาระสังเขป เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว เข้าใจง่าย ได้แก่ สื่ออ้างอิง วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมทั้งหนังสือตำราที่รวบรมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน รวมทั้งสารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่างๆ ดรรชนีวารสารและสาระสังเขป เป็นต้น
        1.3     แหล่งตติยภูมิ หมายถึง สารสนเทศที่รวบรวมขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ ไม่ให้ความรู้สาระเนื้อหารโดยตรง แต่ใช้ประโยชน์เพื่อการค้นหาเฉพาะสาขาวิชาต่างๆได้ ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ปัจจุบันมีการจัดทำเป็นบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ออกเผยแพร่ ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออนไลน์
             2.  จำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ คือการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล หรือตามเทคโนโลยีที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง ได้แก่
         2.1     กระดาษ เป็นการเก็บข้อมูลสารสนเทศที่ใช้บันทึกได้ง่ายที่สุด ทั้งการขีดเขียน การพิมพ์ นิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน
         2.2    วัสดุย่อส่วน คือสื่อทีถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งเป็นม้วนหรือเป็นแผ่น เรียงลำดับเนื้อหาตามต้นฉบับ เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ แบบฟอร์ม บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ เป็นต้น
         2.3     สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็น อะนาล็อก Analog และดิจิตอล Digital เช่น เทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ ปัจจุบันสามารถแก้ไขปรับปรุงได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
       2.4     สื่อแสงหรือสื่อออปติก เป็นสื่อที่ได้รับการบันทึก และอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เป็นข้อมูลดิจิตอลอ่านโดยทั่วไปจะอ่านได้อย่างเดียว เช่น CD-ROM, VCD, DVD ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อแม่เหล็ก

6. ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ ข้อมูลที่ยังไม่ได้จัดรูปแบบ 
7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น สารสนเทศ
8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น ข้อมูลที่ยังไม่ได้จัดรูปแบบ
9. ผลของการลงทะเบียนเป็น สารสนเทศ
10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section
วันอังคารเป็น สารสนเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น